วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความรู้สึกที่ได้เรียนสถาปัตย์...

        ไปโรงเรียนสองสัปดาห์เพื่อศึกษาสาขาวิชาที่อยากเรียน แม้ว่าที่เลือกเรียนเป็นสถาบันการศึกษา
ขนาดเล็กแต่ก็ได้รับการรับรองจากสภาสถาปนิกให้สามารถสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
สถาปนิกได้ หาโอกาสยากนักสำหรับวิชาชีพชั้นสูงที่ไม่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับ
โอกาส
        ประทับใจอาจารย์ที่สอนทั้งสองท่านที่เป็นสถาปนิก และเป็นศิษย์เก่าของสถาบันการศึกษาแห่งนี้
ทั้งสองคน นับเป็นรุ่นพี่ บุคคลตัวอย่างที่นักศึกษารุ่นน้องควรเอาเป็นตัวอย่าง  กลับมาผมต้องหาแหล่ง
การการเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยการแวะศูนย์หนังสือจุฬาเพื่อซื้อหนังสือสถาปัตยกรรมศาสตร์ตั้งแต่เริ่มต้น
มาศึกษาเพิ่มเติม เพราะด้วยเวลาจำกัดเราไม่สามารถมีองค์ความรู้เพียงพอสำหรับศาสตร์สาขานี้
ที่รวมเอาทั้งศาสตร์และศิลป์มารวมอยู่ในวิชาชีพเดียวกัน

       นี่เป็นหนังสือสถาปัตยกรรมพื้นฐานที่ได้มาวันนี้ ความจริงหนังสือเหล่านี้ผมไปลูบ ๆ คลำ ๆ มาตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว  มาปีนี้เลยถือโอกาสสอยมาเป็นเจ้าของเสียที ตอนนี้ห่อปกเรียบร้อยตามประสา
คนรักหนังสือ


        เล่มนี้เป็นทฤษฎีเบื้องต้นของ ศ.เลอสม  สถาปิตานนท์ อาจารย์สถาปนิกชื่อดัง  เนื้อหาประกอบ
ด้วยขั้นตอนการออกแบบสถาปัตยกรรม องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม และกรณีศึกษาสถาปัตย-
กรรมที่พักอาศัยที่ออกแบบตามทฤษฎี  เชื่อว่าทุกท่านที่เริ่มเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์คงได้อ่าน
กันแล้ว



        ส่วนเล่มนี้เป็นการออกแบบบ้านขั้นพื้นฐานของ ศ.เลอสม  สถาปิตานนท์ ที่ตีพิมพ์ปีนี้ (2558)
พิมพ์คร้งที่ 8 แล้ว  กล่าวการออกแบบบ้านโดยมีรายละเอียด ภาพประกอบครบถ้วน


        ถ้ามือใหม่หัดขับ คนขาดประสบการณ์ในการวาดภาพต้องฝึกตามนี้เลp "เทคนิคการเขียน
ภาพลายเส้นในงานสถาปัตยกรรม" ของ รศ.วัชรี  วัชรสินธุ์ 


        เล่มสุดท้ายที่ได้มาวันนี้ คือ "การเขียนแบบ 3 มิติ โครงสร้างไม้" ของอาจารย์สถาปนิก 2 ท่าน
แห่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

       นอกจากนี้ผมยังมีหนังสือการออกแบบ เขียนแบบก่อสร้างอีกหลายเล่มที่ซื้อไว้อ่านยามว่าง  บทความเรื่องต่อไปจะเอาหน้าปกมาแชร์ครับ