วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

จบจนได้เรียนเขียนแบบก่อสร้าง 1-2

        เรียนเขียนแบบก่อสร้าง 1-2 หลักสูตรวิชาละ 75 ชั่วโมง รวม 150 ชั่วโมง รวมเวลาเรียน
เต็ม ๆ 50 วันทำการ วันละ 3 ชั่วโมง  ได้แปลนบ้านที่สมบูรณ์มา 1 หลัง  คุ้มแล้วสำหรับ
การอยากเรียนรู้ในสิ่งที่ชอบ



        ข้อความนี้บันทึกเพิ่มเมือเวลาผ่านไปเกือบสามปี เพิ่งมีโอกาสเรียนต่อสาขาเทคนิคสถาปัตย
กรรม  แม้ว่าจะเป็นระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แต่ก็เป็นสถาบันการศึกษาที่
สภาสถาปนิกรับรองหลักสูตรว่า หลังสำเร็จการศึกษาแล้วประกอบอาชีพในสาขาสถาปัตยกรรม
ก็มีสิทธิ์สมัครสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบอาชีพเป็นสถาปนิก สาขาสถาปัตยกรรมหลัก
ตามระเบียบของสภาสถาปนิกได้เช่นเดียวกับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาสถาปัตยกรรม-
ศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) ได้  หรือถ้าสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. แล้วศึกษาต่อหลักสูตร สถ.บ.
หลักสูตรต่อเนื่อง 3 ปี ในสถาบันการศึกษาที่สภาสถาปนิกรับรอง ก็สามารถสมัครสอบเพื่อ
ขอรับใบอนุญาตเช่นเดียวกับผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร 5 ปีได้

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ฝึกเขียนแบบวันแรก

ก่อนจะเรียนเทคนิคสถาปัตยกรรม ผมไปเตรียมความพร้อมด้วยการเรียนหลักสูตรระยะสั้น รายวิชา
การเขียนแบบก่อสร้าง 1 และการเขียนแบบก่อสร้าง 2 ที่วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ ๆ
กับที่ทำงานเพียงสามป้ายรถเมล์  เรียนวันแรกอะไร ๆ ก็ดูเก้งก้างไปหมดไม่ว่าจะเป็นการติดกระดาษ
เขียนแบบ การใช้ไม้ที สามเหลี่ยม สเกล และอุปกรณ์อื่นสำหรับการเขียนแบบ ที่สำคัญการลงน้ำหนัก
ของเส้นที่เขียนจากดินสอมันดูไม่ได้เอาเสียเลย ทำแล้วก็ลบ ๆๆๆ และลบจนสกปรกไปหมดเลย

วันที่สองนี่ดีขึ้นกว่าวันแรก

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เรียนสถาปัตย์ตอนแก่...ดีไหม

ผมเคยทำอาคารมา 4 หลัง ออกแบบเองทั้งหมดแล้วให้ทีมงานที่จบ ปวส.เทคนิคสถาปัตย์กรรมเขียนแบบ
ให้แล้วให้วิศวกรคำนวณโครงสร้าง สุดท้ายก็ให้สถาปนิกเซ็นต์แบบ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีเรียนลัดสำหรับเจ้าของ
กิจการเล็ก ๆ ที่มีสายป่านไม่ยาวมากนัก ทุกอย่างเราทำเอง ตอนที่ให้สถาปนิกเซ็นต์นี่สิผมรู้สึกเสียเปรียบ
มากเลย คือต้องจ่ายค่าเซ็นต์สูงลิ่วเลย  นั่นแหละทำให้ผมบอกตัวเองว่าสักวันผมต้องเป็นสถาปนิกบ้าง

จนแล้วจนรอดโอกาสที่จะเป็นสถาปนิกก็ไม่เคยเดินมาเฉียดเลย เพราะถ้าอยากเป็นมันต้องไปเรียน
อย่างน้อย 5 ปี นั่นคือความเข้าใจตอนนั้นนะครับ  อาทิตย์ที่ผ่านมาผมค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการเรียน
ต่อวิศวกรรมศาสตร์ ภาคสมทบ  บังเอิญไปพบว่าสภาสถาปนิกเขาให้คนที่จบ ปวส.สถาปัตย์สอบใบ
อนุญาตได้ (ความจริงเขามีมานานแล้ว แต่ผมไม่ทราบเท่านั้นเอง) เท่านั้นแหละโอกาสการเป็นสถาปนิก
ก็มาเดินเฉียดเป็นครั้งแรก

ผมค้นต่อว่าสถาบันที่สภาสถาปนิกรับรองมีที่ไหนบ้างเปิดภาคสมทบ หรือการศึกษานอกเวลาเรียน
ปกติ จนมาพบที่นี่ครับ วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม