วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เตรียมตัวเขียนแบบสถาปัตยกรรมด้วยคอมพิวเตอร์

        ไหน ๆ ก็เลือกเดินทางสายสถาปัตยกรรมแล้ว การเขียนแบบ ออกแบบสถาปัตยกรรมด้วย
คอมพิวเตอร์มีความจำเป็น  ผมเลยถือโอกาสหาหนังสือมาอ่านทดลองทำไปพร้อม ๆ กับ Free
Hand Writing/Drawing  หนังสือที่หามาอ่านและทดลองทำตามตอนนี้มีสองเล่ม ทั้ง AutoCAD
และ SketchUp


       




วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความรู้สึกที่ได้เรียนสถาปัตย์...

        ไปโรงเรียนสองสัปดาห์เพื่อศึกษาสาขาวิชาที่อยากเรียน แม้ว่าที่เลือกเรียนเป็นสถาบันการศึกษา
ขนาดเล็กแต่ก็ได้รับการรับรองจากสภาสถาปนิกให้สามารถสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
สถาปนิกได้ หาโอกาสยากนักสำหรับวิชาชีพชั้นสูงที่ไม่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับ
โอกาส
        ประทับใจอาจารย์ที่สอนทั้งสองท่านที่เป็นสถาปนิก และเป็นศิษย์เก่าของสถาบันการศึกษาแห่งนี้
ทั้งสองคน นับเป็นรุ่นพี่ บุคคลตัวอย่างที่นักศึกษารุ่นน้องควรเอาเป็นตัวอย่าง  กลับมาผมต้องหาแหล่ง
การการเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยการแวะศูนย์หนังสือจุฬาเพื่อซื้อหนังสือสถาปัตยกรรมศาสตร์ตั้งแต่เริ่มต้น
มาศึกษาเพิ่มเติม เพราะด้วยเวลาจำกัดเราไม่สามารถมีองค์ความรู้เพียงพอสำหรับศาสตร์สาขานี้
ที่รวมเอาทั้งศาสตร์และศิลป์มารวมอยู่ในวิชาชีพเดียวกัน

       นี่เป็นหนังสือสถาปัตยกรรมพื้นฐานที่ได้มาวันนี้ ความจริงหนังสือเหล่านี้ผมไปลูบ ๆ คลำ ๆ มาตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว  มาปีนี้เลยถือโอกาสสอยมาเป็นเจ้าของเสียที ตอนนี้ห่อปกเรียบร้อยตามประสา
คนรักหนังสือ


        เล่มนี้เป็นทฤษฎีเบื้องต้นของ ศ.เลอสม  สถาปิตานนท์ อาจารย์สถาปนิกชื่อดัง  เนื้อหาประกอบ
ด้วยขั้นตอนการออกแบบสถาปัตยกรรม องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม และกรณีศึกษาสถาปัตย-
กรรมที่พักอาศัยที่ออกแบบตามทฤษฎี  เชื่อว่าทุกท่านที่เริ่มเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์คงได้อ่าน
กันแล้ว



        ส่วนเล่มนี้เป็นการออกแบบบ้านขั้นพื้นฐานของ ศ.เลอสม  สถาปิตานนท์ ที่ตีพิมพ์ปีนี้ (2558)
พิมพ์คร้งที่ 8 แล้ว  กล่าวการออกแบบบ้านโดยมีรายละเอียด ภาพประกอบครบถ้วน


        ถ้ามือใหม่หัดขับ คนขาดประสบการณ์ในการวาดภาพต้องฝึกตามนี้เลp "เทคนิคการเขียน
ภาพลายเส้นในงานสถาปัตยกรรม" ของ รศ.วัชรี  วัชรสินธุ์ 


        เล่มสุดท้ายที่ได้มาวันนี้ คือ "การเขียนแบบ 3 มิติ โครงสร้างไม้" ของอาจารย์สถาปนิก 2 ท่าน
แห่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

       นอกจากนี้ผมยังมีหนังสือการออกแบบ เขียนแบบก่อสร้างอีกหลายเล่มที่ซื้อไว้อ่านยามว่าง  บทความเรื่องต่อไปจะเอาหน้าปกมาแชร์ครับ

กฎหมายและสัญญา

3108-2105 กฎหมายและสัญญา 2 - 0 - 2 (Law and Contract) 

จุดประสงค์รายวิชา 

        1. เข้าใจกฎหมายควบคุมอาคารที่เกี่ยวข้องกับอาคารสาธารณะกฎหมายวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง และการเขียนรายการประกอบแบบ
        2. สามารถนําความรูปในกฎหมายควบคุมอาคาร กฎหมายที่เกี่ยวของและการเขียนสัญญา ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพทางสถาปัตยกรรม
        3. มีเจตคติและกิจนิสัยที่ดี รักการค้นคว้าเพิ่มเติม มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ

สมรรถนะรายวิชา
        1. แสดงความรู้เกี่ยวกับกฎหมายควบคุมอาคาร กฎหมายวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม กฎหมายวิชาชีพที่ เกี่ยวข้อง การเขียนสัญญาการออกแบบทางสถาปัตยกรรม และการเขียนรายการประกอบแบบก่อสร้าง
        2. นําความรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องไปประ ยุกต์ใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม
        3. เขียนสัญญาการออกแบบทางสถาปัตยกรรม
        4. เขียนรายการประกอบแบบก่อสร้าง

คําอธิบายรายวิชา 
        ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายควบคุมอาคาร ที่เกี่ยวข้องกับอาคารสาธารณะ กฎหมายจัดสรรที่ดิน กฎหมาย วิชาชีพสถาปตยกรรมควบคุม กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง และการเขียนรายการประกอบแบบก่อสร้าง

สภาวะแวดล้อม (Environmental Condition)

3108-2007 สภาวะแวดล้อม 2 - 0 - 2 (Environmental Condition) 

จุดประสงค์รายวิชา

        1. เข้าใจหลักการออกแบบอาคารที่มีความสัมพันธกับสภาวะแวดลอม
        2. เข้าใจหลักการระบายอากาศ แสงสว่าง
        3. เข้าใจหลักการควบคุมเสียงภายในอาคาร
        4. มีกิจนิสัยในการใฝ่รู้ ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม

สมรรถนะรายวิชา 
        1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบอาคารที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะแวดลอม
        2. นําความรู้มาประยุกต์กับการออกแบบอาคาร และการแก้ปัญหาสภาพแวดลอม

คําอธิบายรายวิชา 
        ศึกษาเกี่ยวกับหลักการออกแบบอาคารที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะแวดล้อม เขตสภาวะความสบาย อุณหภูมิ ความร้อนจากดวงอาทิตย์ ความชื้น กระแสลมและการระบายอากาศ แสงสว่างและการควบคุมเสียงภายในอาคาร

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การออกแบบสถาปัตยกรรมเบื้องต้น (Fundamental Design)

3108-0003 การออกแบบสถาปัตยกรรมเบื้องต้น 1 -6 - 3 (Fundamental Design) 

จุดประสงค์รายวิชา
 
          1. เข้าใจหลักการออกแบบบ้านพักอาศัยชั้นเดียวคอนกรีตเสริมเหล็ก และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
          2. ออกแบบ เขียนแบบบ้านพักอาศัยคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว
          3. ออกแบบระยะสั้น ตกแต่งแบบ และนําเสนอผลงานทางสถาปัตยกรรม
          4. มีเจตคติและกิจนิสัยที่ดีในการทํางาน รอบคอบ ตรงต่อเวลา

สมรรถนะรายวิชา
          1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบบานพักอาศัยชั้นเดียว
          2. ออกแบบบ้านพักอาศัยชั้นเดียว
          3. เขียนและตกแต่งแบบบ้านพักอาศัยชั้นเดียว

คําอธิบายรายวิชา
          ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการออกแบบ องค์ประกอบของพื้นที่ใช้สอย กฎหมายที่
เกี่ยวข้อง ของบ้านพักอาศัยชั้นเดียวออกแบบระยะสั้นงานสถาปัตยกรรมขนาดเล็ก


วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ในที่สุด... การเดินทางสู่เส้นทางสายสถาปนิกก็เริ่มขึ้น

        ตัดสินใจอยู่ตั้งนานกับการเริ่มต้นเรียน เทคนิคสถาปัตยกรรม วุฒิ ม.ศ.5 ซึ่งป่านนี้ไม่
ทราบว่าอยู่ไหนก็ต้องถูกรื้อ ค้นขึ้นมาเพื่อสมัครเรียน  เป็นสภาพโรงเรียนแล้วยังลังเลที่จะตัดสินใจอยู่เกือบสามชั่วโมงก่อนที่จะสมัครเรียน  แต่เมื่อตรวจสอบหลักสูตร และการรับรองของสภาสถาปนิกแล้ว
จึงตัดสินใจว่าเรียน


        เพียงแค่ได้ฟังบรรยายวิชาแรก ผมก็บอกกับตัวเองว่า ใช่เลย วิชาแบบนี้แหละที่อยากเรียน วิชาที่
รอจังหวะและโอกาสที่จะเรียนอยู่  สำหรับบล็อคนี้วิชาที่จะเรียนคือ
        สภาวะแวดล้อม  เป็นวิชาที่ศึกษาเกียวกับสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญต่อการออกแบบเชิง
สถาปัตยกรรม
        กฎหมายและสัญญา  ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายที่เกียวข้องกับวิชาชีพสถาปัตยกรรม การก่อสร้าง
สัญญา รายละเอียดประกอบแบบ
        การออกแบบสถาปัตยกรรมเบื้องต้น  เป็นวิชาพื้นฐานวิชาแรกสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทาง
สถาปัตยกรรม

        สถาปัตยกรรม เป็นวิชาชีพเฉพาะชั้นสูง ดังนั้นสำหรับผมจึงเป็นการเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด

        Hi! Architecture, here I come!



วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เรียน ปวส.เทคนิคสถาปัตยกรรม

        วันนี้วันว่าง เลยตามล่าฝันในกูเกิ้ลเพื่อที่จะหาที่เรียน ปวส.เทคนิคสถาปัตยกรรม ที่สภาสถาปนิก
รับรองว่า หลังจบ ปวส. แล้ว 4 ปี มีสิทธิ์ขอสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นสถาปนิก ตามระเบียบของ
สภาสถาปนิก  โรงเรียนที่ว่าคือ โรงเรียนเทคโนโลยีนครปฐม  ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กรุงเทพแค่นี้เอง
รายละเอียดการรับรองของสภาสถาปนิก ปรากฏดังนี้



        สำหรับท่านที่สายป่านไม่ยาว ไม่มีเวลาพอที่จะไปนั่งเรียนหลักสูตร 5 ปี  เพื่อให้ได้มาซึ่งปริญญา
สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) การเดินเส้นทางนี้ เพียงแค่มีวุฒิ ปวส. เทคนิคสถาปัตยกรรม
ทำงานอีก 4 ปี เราก็สามารถเป็นสถาปนิกหลักเหมือนเช่นคนที่สำเร็จ สถ.บ. ได้